Sunday, 21 February 2016

สบู่

สบู่ เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดร่างกายที่ได้จากปฏิกิริยาของด่างกับไขมันจากพืชหรือสัตว์ ปัจจุบัน สบู่มีการใช้ส่วนผสมชนิดต่างๆเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของสบู่ให้มีลักษณะพิเศษ ตรงตามความต้องการใช้งานที่หลากหลายขึ้น
สบู่” จากคำข้างต้น หมายถึง ผลิตภัณฑ์ของสบู่ที่ทำให้เป็นก้อนหรือเป็นของเหลว พร้อมด้วยส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการใช้ทำความสะอาด ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์สบู่ที่เราใช้กันในทุกวันนี้ ส่วน “สบู่ (soap)” อีกคำที่พบในสมการเคมีจะหมายถึง สารตั้งต้นสำหรับการผลิตสบู่ นั่นก็คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างด่างเข้มข้นกับไขมันพืชหรือสัตว์ ร่วมด้วยกับกลีเซอรีน (Glycerine)/กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งสารทั้งสองเป็นสารตั้งต้นในการทำสบู่เหมือนกัน แต่จะให้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเรียกว่า “เกล็ดสบู่”
ไขมันพืช/ไขมันสัตว์ + โซเดียมไฮดรอกไซด์/โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ = เกล็ดสบู่ (soap) + กลีเซอรอล/กลีเซอรีน + แอลกอฮอล์ + น้ำ
สบู่
การเตรียมเกล็ดสบู่
ชนิดของสบู่
1. สบู่ก้อนขุ่น
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่รู้จัก และใช้กันมานานจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวขุ่นหรือมีสีต่างๆ ตามสีของสารเติมแต่ง เช่น สีเขียว สีชมพู สีม่วง เป็นต้น สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ที่ให้คุณสมบัติเป็นก้อนแข็ง ขาวขุ่น ให้ฟองมาก
2. สบู่ก้อนใส
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีลักษณะก้อนใสหรือค่อนข้างใสตามสัดส่วนของกลีเซอรีนที่ผสม ก้อนสบู่จะมีลักษณะอ่อนกว่าสบู่ก้อนขุ่น และสามารถทำให้เกิดสีใสต่างๆตามสารให้สีที่เติมผสม สบู่ชนิดนี้จะให้ฟองค่อนข้างน้อยกว่าสบู่ก้อนขุ่น เนื่องจากมีส่วนผสมของกลีเซอรีนเป็นส่วนใหญ่ สารตั้งต้นที่ใช้อาจเป็นกลีเซอรีนเหลวหรือกลีเซอรีนก้อน (กลีเซอรีนเหลว+เอทิลแอลกอฮอล์) ร่วมด้วยกับสารเติมแต่งชนิดต่างๆ
3. สบู่เหลว
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีน้ำเป็นส่วนผสมทำให้เนื้อสบู่เหลว สีสีสันต่างๆตามสารเติมแต่ง สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้นจากเกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเหมือนชนิดสบู่ก้อนขุ่น แต่ต่างกันที่จะใช้ด่างเข้มข้นโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์แทนโซเดียมไฮดรอกไซด์ เพราะจะให้เนื้อสบู่อ่อนตัวดีกว่า
ลักษณะของสบู่ที่ดี
1. มีความสามารถทำความสะอาดได้ดี
2. มีฟองในระดับที่เหมาะสม
3. มีความเป็นด่างน้อยในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหรือทำลายชั้นไขมันของผิว
4. สบู่ก้อนไม่มีเนื้อเหลว แตกหักง่าย
5. ไม่มีกลิ่นหืน มีกลิ่นหอมน่าใช้ และมีคุณสมบัติเฉพาะในบางกรณี เช่น สบู่ฆ่าเชื้อ
สารเคมีที่ใช้ทำสบู่
1. ไขมัน/น้ำมัน เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสารตั้งต้นสบู่ ไขมันหรือน้ำมันที่ใช้อาจได้จากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม เป็นต้น ส่วนไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น ไขมันโค กระบือ แกะ แพะ เป็นต้น คุณภาพของน้ำมันที่ได้จากพืช และสัตว์จะมีผลต่อคุณภาพของสบู่ เกล็ดสบู่ (soap)ที่ได้จากน้ำมันพืชจะให้ลักษณะขาวเนียน และกลีเซอรีนจะค่อนข้างใสกว่าน้ำมันจากสัตว์ นอกจานั้น เกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากน้ำมันจากพืชจะมีกลิ่นหืนน้อยกว่าน้ำมันจากสัตว์ อีกทั้งน้ำมันจากพืชยังเป็นวัตถุดิบที่หาง่าย และราคาถูกกว่า
2. ด่างเข้มข้น เป็นสารเคมีสำคัญที่ใช้ทำปฏิกิริยากับไขมันธรรมชาติ ด่างเข้มข้นที่นิยมใช้ คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะได้เนื้อสบู่สีขาวทึบ เนื้อก้อนแข็ง ให้ฟองมาก นิยมนำมาทำสบู่ก้อนทึบ และอีกชนิดหนึ่ง คือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะได้สบู่ในลักษณะเดียวกัน แต่เนื้อสบู่มีความอ่อนตัวได้ดีกว่า นิยมนำมาทำสบู่เหลว
3. สารเติมแต่ง เป็นสารเคมีสำหรับปรับปรุงคุณสมบัติของสบู่ เช่น สี น้ำหอม สมุนไพร สารป้องกันความชื้น สารลดความเป็นด่าง สารลดแรงตึงผิว สารทำให้ฟองคงตัว สารเพิ่มความแข็ง สารป้องกันการออกซิเดชัน สารบำรุงผิว สารฆ่าเชื้อ เป็นต้น เป็นสารเติมแต่งที่นิยมผสมในสบู่เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะแก่การใช้ประโยชน์ในแต่ละอย่าง
วิธีการทำสบู่
การทำสบู่ในระดับอุตสาหกรรม และระดับครัวเรือน ในกรรมวิธีหลักๆจะไม่แตกต่างกันมาก แต่ในทางอุตสาหกรรมจะมีกระบวนการที่ละเอียด และซับซ้อนกว่า โดยในภาคอุตสาหกรรมอาจเตรียมสบู่สารตั้งต้นเองหรือสั่งซื้อจากอีกแหล่งที่ทำหน้าที่รับผลิต ทั้งที่เป็นเกล็ดสบู่ (soap) เพื่อผลิตสบู่ก้อนขุ่น หรือสบู่เหลว และกลีเซอรีน เพื่อผลิตสบู่ก้อนใส
1. การผลิตสบู่ในภาคอุตสาหกรรม
สำหรับภาคครัวเรือนสามารถผลิตได้ทั้งสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว โดยนิยมสั่งซื้อเกล็ดสบู่ (soap) และกลีเซอรีน จากแหล่งจำหน่ายโดยไม่ต้องเตรียมเอง
ขั้นตอนการผลิตสบู่ภาคอุตสาหกรรม
– การฟอกสีน้ำมันวัตถุดิบเพื่อให้น้ำมันมีสีใส และไม่มีกลิ่นหืน
– การต้มสบู่ เพื่อให้ได้เกล็ดสบู่ และกลีเซอรีน ด้วยการเติมด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
– ขั้นตอนการแยก โดยการแยกเกล็ดสบู่ และกลีเซอรีนออกจากกัน
– ขั้นตอนการฟิต เป็นการนำเอาเกล็ดสบู่เข้าหม้อฟิตเพื่อกำจัดเกลือที่ตกค้างในเกล็ดสบู่
– การระเหยน้ำ ด้วยการเป่าแห้งเกล็ดสบู่เหลวเพื่อกำจัดน้ำที่ผสมอยู่ และเพื่อให้เกล็ดสบู่แห้งจับตัวเป็นก้อน เรียกว่า สบู่ดิบ
– นำสบู่ดิบมาผสมกับส่วนผสมต่างๆ ภายใต้ความร้อนจนสารทั้งหมดละลายรวมตัวกัน และผ่านเข้าเครื่องอัดความหนาแน่นเพื่อให้สบู่เป็นก้อนที่คงตัว และสม่ำเสมอ
– เมื่อสบู่ที่ออกจากเครื่องอัดความหนาแน่นแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการรีดให้เป็นแท่งยาว และตัดด้วยเครื่อง
– ก้อนสบู่ที่ตัดเป็นก้อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการปั้มบนแม่พิมพ์ และตีตรา เข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุในขั้นสุดท้าย
2. การผลิตสบู่สมุนไพรภาคครัวเรือน
2.1 สารตั้งต้น
การทำสบู่ในภาคครัวเรือนนิยมผลิตสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว ซึ่งจะใช้สารตั้งต้นที่แตกต่างกัน โดยสามารถสั่งชื้อได้ตามอินเตอร์เน็ตหรือร้านขายส่งสารเคมีทั่วไป
– สบู่ก้อนขุ่น ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์
– สบู่ก้อนใส ใช้สารตั้งต้น คือ กลีเซอรีนก้อน
– สบู่เหลว ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
วิธีการเตรียมสารตั้งต้น
วัสดุ และสารเคมี:
– น้ำ 1 ลิตร
– โซเดียมไฮดรอกไซด์ 100 กรัม
– น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม 3 ลิตร
วิธีการ:
– ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในหม้อที่ต้มน้ำ คนให้ละลายจนหมด และตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น
– เทน้ำมันพืชลงในหม้อ กวนให้เข้ากัน และเทใส่แม่พิมพ์หรือภาชนะอื่น
– รินน้ำ และสารละลายใสที่เป็นกลีเซอรีนส่วนบนออก
– สบู่จะนอนก้นเป็นตะกอนขาวขุ่น ซึ่งต้องตั้งทิ้งไว้ให้เย็น จนเกล็ดสบู่ (soap) จับตัวเป็นก้อน สำหรับการทำสบู่ก้อนขุ่น
2.2 สมุนไพร
สมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมทำสบู่มีมากมายหลายชนิด ซึ่งอาจประยุกต์ใช้สมุนไพรชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ยกตัวอย่าง
– มะขาม มะนาว มะกรูดให้วิตามินซี และกรด ช่วยขัดเซลล์ผิว และป้องกันเชื้อจุลินทรีย์
– เปลือกมังคุดให้วิตามินดี ลดรอยด่างดำ
– มะละกอ ให้วิตามินเอ ช่วยบำรุงผิวให้ขาว
– ว่านหางจระเข้ ให้วิตามินอีช่วยลดรอยจุดด่างดำ
– ขมิ้น ดาวเรือง ช่วยบำรุงผิว
การเตรียมสมุนไพร สามารถทำได้โดย
– การทำเป็นผง ด้วยการตากแห้ง และนำมาบดให้เป็นผงละเอียด และนำตากให้แห้งอีกครั้ง
– การสกัดเป็นสารละลาย ด้วยการบดสมุนไพรให้ละเอียด และนำมาต้มสกัดหรือนำมาแช่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ
สบู่สมุนไพรควรเติมผงสมุนไพรประมาณร้อยละ 1-5 ของน้ำหนักสบู่ และสมุนไพรที่ได้จากการต้มสกัด ควรเติมประมาณร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักสบู่
2.3 สารเติมแต่ง
– น้ำหอม เป็นสารเติมแต่งที่นิยมเติมในการทำสบู่ สามารถใช้ได้ทั้งน้ำหอมทั่วไปหรือน้ำหอมสำหรับสบู่
– ผงสี สารลดความกระด้าง สารรักษาความชื้น สารป้องกันการหืน ซึ่งสารเหล่านี้อาจไม่ใช้ก็ได้หากไม่สะดวกที่จะหาซื้อ
2.4 ขั้นตอนการทำสบู่
– นำเกล็ดเกล็ดสบู่ใส่หม้อภาชนะ ตั้งไฟอ่อนๆให้ละลายจนหมด
– เติมสมุนไพร หากเป็นผงประมาณไม่เกิน 50 กรัม หากเป็นน้ำสกัดไม่เกิน 100 ซีซี
– เติมสารเติมแต่ง เช่น น้ำหอม ผงสี และอื่นตามที่หาซื้อได้ พร้อมคนให้ละลายเข้ากัน
– เทสารละลายสบู่ในแม่พิมพ์ และรอจนแห้งตัวก็จะได้สบู่สำหรับใช้งาน

น้ำยาล้างจาน

น้ำยาล้างจาน หมายถึง ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ทำความสะอาดจาน ชาม รวมถึงภาชนะอื่นๆที่ใช้ในครัวเรือนเพื่อช่วยกำจัดคราบไขมัน และเศษอาหารให้ออกได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น ยังใช้เพื่อทำความสะอาดในด้านอื่นๆ เช่น ใช้ทำความสะอาดภาชนะต่างๆ ใช้ทำความสะอาดมือเท้า เป็นต้น
ชนิดของน้ำยาล้างจาน
1. น้ำยาล้างจานจากพืช เป็นน้ำยาล้างจานที่ผลิตได้จากส่วนผสมของพืชเป็นหลัก เช่น น้ำมะกรูด น้ำมะนาว เป็นต้น มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในภาคครัวเรือนเพื่อใช้เองหรือผลิตเพื่อการจำหน่ายขนาดเล็กเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
2. น้ำยาล้างจานจากสารเคมี เป็นน้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของสารเคมีเป็นหลัก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตมากในภาคอุตสาหกรรม
3. น้ำยาล้างจานจากสารเคมี และจากพืช เป็นน้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของสารเคมี และสารสกัดจากพืชเป็นหลัก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิต และใช้มากในปัจจุบัน ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และครัวเรือน
ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานที่มีการผลิต และใช้มากในปัจจุบันมักเป็นผลิตภัณฑ์จากสารเคมี และผลิตภัณฑ์จากสารเคมีมีส่วนผสมของสารสกัดจากพืชเป็นหลัก มีลักษณะสีเหลืองหรือสีใสข้น ส่วนน้ำยาล้างจานจากพืชมักพบผลิต และมีการใช้น้อยที่สุด ซึ่งจะพบได้ในภายในครัวเรือนหรือเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
น้ำยาล้างจาน
ประโยชน์ในด้านอื่นๆ
1. ใช้ล้างทำความสะอาดคราบไขมัน คราบอาหารที่เปื้อนตามมือ เท้า หรือส่วนต่างๆของร่างกาย ยกเว้นบริเวณผิวบอบบาง เช่น ใบหน้า
2. ใช้ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรต่างๆ
3. ใช้ล้างทำความสะอาดแก้ว กระจกหรือเครื่องตกแต่งต่างๆ
4. ใช้ล้างรถ
5. น้ำที่ใช้แล้วจากการล้างจานหรือภาชนะในครัวเรือนสามารถนำมารดต้นไม้หรือลานหญ้าเพื่อเพิ่มปุ๋ยฟอสฟอรัสได้
ส่วนประกอบของน้ำยาล้างจาน
ส่วนประกอบของน้ำยาล้างจานที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์จะประกอบด้วยสารเคมีในกลุ่มสารลดแรงตึงผิวที่ให้ประจุลบเป็นหลัก มีลักษณะลื่น เมื่อละลายน้ำจะมีฤทธิ์เป็นกรด และทำให้เกิดฟองจำนวนมาก สามารถแทรกซึมสู่พื้นผิวของภาชนะได้ดีทำให้คราบไขมัน และเศษอาหารหลุดออกได้ง่าย ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่
1. Sodium Alkyl Benzene Sulphonate หรือ Linear Alkyl Benzene Sulphonate, Sodium Salt 12.8 – 14.4% w/w
2. Sodium Lauryl Ether Sulphate 3.5% w/w
3. Cocamidopropyl Betaine 0.5% w/w
4. สารสกัดจากพืช เช่น น้ำมะนาว น้ำมะกรูด
การผลิตน้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจานสามารถเลือกซื้อใช้ตามผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดหรือผลิตใช้เองโดยใช้ส่วนผสมหลักดังกล่าวข้างต้น และประยุกต์ด้วยการผลิตใช้เองในครัวเรือนก็ได้ในสูตร ดังนี้
การผลิตน้ำยาล้างจาน 10 ลิตร จะใช้ส่วนผสม ดังนี้
1. Sodium Alkyl Benzene Sulphonate หรือ Linear Alkyl Benzene Sulphonate, Sodium Salt 1.2 – 1.5 กิโลกรัม
2. Sodium Lauryl Ether Sulphate 0.3-0.4 กิโลกรัม
3. น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดที่ผ่านการกรอง และต้มฆ่าเชื้อ 1.0 กิโลกรัมหรือลิตร
4. เกลือ 0.05 กิโลกรัม หรือ 50 กรัม
5. น้ำต้ม (ลิตรหรือกิโลกรัม) จำนวนตามสูตร 10-(ข้อ 1)-(ข้อ 2)-(ข้อ 3)-(ข้อ 4)
เช่น 10-1.2-0.3-0.05-1.0 = 7.45 ลิตรหรือกิโลกรัม
วิธีใช้
เนื่องจากผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานที่จำหน่ายในปัจจุบันมักผลิตออกมาในรูปเข้มข้น ซึ่งใช้เพียงหยดสองหยดก็สามารถล้างจานหรือภาชนะได้หลายใบ โดยมักใช้ร่วมกับฟองน้ำล้างจานเพื่อทำให้เกิดฟอง ช่วยขจัดคาบ และกลิ่นคาวได้ง่าย
ข้อควรระวัง1. ระมัดระวังไม่ให้สัมผัสกับตา เนื่องด้วยสารประกอบส่วนใหญ่มีฤทธิ์เป็นกรด หากสัมผัสกับตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบตา ตาแดง ตาอักเสบได้ง่าย เมื่อสัมผัสให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันที
2. ห้ามรับประทาน และควรเก็บให้พ้นจากมือเด็กที่อาจหยิบจับได้ง่าย
3. ผู้ที่มีอาการแพ้ต่อสารเคมีได้ง่ายควรทดสอบโดยการละลายน้ำ และทาบางๆบนผิวหนัง หากเกิดอาการแพ้ควรหลีกเลี่ยงการใช้หรือให้สวมถุงมือก่อนใช้ทุกครั้ง
น้ำยาล้างจาน

การบริโภคนั้นเป็นกิจกรรมหลักของมนุษย์เรา ไม่ว่าชาติใดภาษาใดก็ตาม และสิ่งหนึ่งที่สร้างภาระตามมาหลังการบริโภคก็คือ การทำความสะอาดภาชนะใส่อาหารซึ่งหลายๆคนอยากจะหลีกเลี่ยง เพราะรู้สึกเบื่อคราบไขมันที่ติดภาชนะล้างออกยาก บางครอบครัวจึงตัดปัญหานี้โดยออกไปกินอาหารนอกบ้านก็มี
ถ้าเรามองย้อนกลับไปยุคโบร่ำโบราณสมัยคุณปู่คุณทวดแล้ว การล้างจานไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด แม้ว่าจะไม่มีน้ำยาล้างจานดังเช่นปัจจุบัน สิ่งที่ใช้ทำความสะอาดภาชนะต่างๆนั้นได้มาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กาบมะพร้าว น้ำซาวข้าว และขี้เถ้า โดยกาบมะพร้าวและขี้เถ้านั้นใช้ขัดถูทำความสะอาดคราบเขม่าควันที่ติดตามก้นหม้อและกระทะ ส่วนน้ำซาวข้าวนั้นใช้ทำความสะอาดคราบไขมันต่างๆ แต่สมัยที่ต้องการความรวดเร็วเช่นปัจจุบันนี้ การทำความสะอาดแบบดังกล่าวค่อยๆเลือนหายไป ผู้คนต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งต้องทำงานแข่งกับเวลาอยู่เสมอ กอรปกับความช่างคิดของมนุษย์จึงได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภาชนะขึ้นมาหลายชนิด จนหลายท่านอาจจะรู้สึกว่าไม่รู้จะเลือกใช้ยี่ห้อไหนดี
 
ควรใช้อะไรล้างภาชนะ
ถึงวันนี้อาจมีบางท่านรู้สึกสับสนระหว่างผงซักฟอกกับน้ำยาล้างจาน โดยเข้าใจว่าสามารถใช้ผงซักฟอกแทนน้ำยาล้างจานได้ เพราะใช้ทำความสะอาดได้เหมือนกัน แต่จริงๆแล้วผงซักฟอกและน้ำยาล้างจานผลิตขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ผงซักฟอกใช้ขจัดคราบสิ่งสกปรก ทำให้ผ้าขาว ในขณะที่น้ำยาล้างจานใช้ทำความสะอาดขจัดคราบไขมันที่ติดภาชนะต่างๆ
ในผงซักฟอกได้มีการผสมสารเรืองแสง เพื่อทำให้เสื้อผ้าดูสดใสเป็นประกายน่าสวมใส่ด้วย ถ้าคุณนำผงซักฟอกมาใช้ล้างจาน ไม่ว่าคุณจะมั่นใจว่าล้างอย่างสะอาดเพียงใดก็ตาม สารเรืองแสงก็จะติดอยู่กับจานชามซึ่งอันที่จริงไม่จำเป็นต้องมีความเรืองแสงเลย และเมื่อคุณกินอาหารจาก “จานเรืองแสง” สารนี้จะติดกับอาหารแล้วลงไปสู่กระเพาะของคุณ แล้วมันก็จะเข้าไปสะสมในร่างกายทำให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้
 
น้ำยาล้างจานที่ดีควรเป็นอย่างไร
คุณลักษณะทั่วไปของน้ำยาล้างจานควรเป็นของเหลวเนื้อเดียวกัน ไม่มีสิ่งแปลกปลอมปรากฏ อาจมีสารแต่งสีได้ แต่ต้องเป็นสีที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้ได้ในเครื่องสำอาง สามารถละลายน้ำได้ดีและเมื่อใช้ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ที่ฉลากแล้ว ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหลังจากเก็บไว้นาน 1 ปีในภาชนะบรรจุปิดสนิทและภาวะปกติ น้ำยาล้างจานต้องมีคุณลักษณะที่ต้องการคงเดิมทุกประการ สำหรับภาชนะบรรจุต้องทำด้วยวัตถุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำยาล้างถ้วยชาม ปิดได้สนิท และแข็งแรงเพียงพอที่จะป้องกันการรั่วอันเนื่องมาจากการขนส่งหรือใช้งาน
ทุกครั้งที่คุณจะซื้อน้ำยาล้างถ้วยชามให้คุณสังเกตเครื่องหมายและฉลากข้างขวด ที่ฉลากข้างขวดอย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นง่ายและชัดเจน
1. คำว่า “น้ำยาล้างจาน”
2. ปริมาณสุทธิ
3. ชื่อผู้ผลิตหรือโรงงานที่ผลิต หรือชื่อผู้จัดจำหน่าย หรือเครื่องหมายการค้า และสถานที่ตั้ง
4. รุ่นหรือรหัสรุ่นที่ทำ
5. คำแนะนำวิธีใช้
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้ที่ผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานนี้ จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแล้วเท่านั้น
นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่คุณควรพิจารณาร่วมด้วยเมื่อตัดสินใจจะซื้อน้ำยาล้างถ้วยชามก็คือ ควรใช้น้ำยาล้างจานชนิดน้ำ ด้วยเหตุผลที่ว่า ขั้นตอนในการผลิตประหยัดพลังงานมากกว่าน้ำยาล้างจานชนิดผงหรือครีม เพราะชนิดหลังนี้ต้องนำมาผ่านกระบวนการเขย่าและเป่าให้แห้ง ในขณะที่น้ำยาล้างจานชนิดน้ำใช้กรรมวิธีเพียงแค่นำมาผ่านกระบวนการความร้อนเท่านั้น ตรงจุดนี้คุณจะสามารถช่วยอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าไปได้ส่วนหนึ่งหากใช้น้ำยาล้างจานชนิดน้ำ
น้ำยาล้างจานบางชนิดมักจะโฆษณาถึงประสิทธิภาพในแง่ที่มีสารปรุงแต่งกลิ่นและสีเป็นผลไม้ชนิดต่างๆ และมีสารเพิ่มฟองเพื่อประสิทธิภาพในการชำระล้าง แต่จริงๆแล้วสารเหล่านี้ไม่ได้มีคุณสมบัติช่วยในการชำระล้างคราบสกปรกแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นสารสังเคราะห์ที่ปรุงแต่งให้มีสีและกลิ่นดูน่าใช้มากขึ้นเท่านั้น
อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ ไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานที่ผสมสารฟอสเฟต หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆก็ควรใช้น้ำยาล้างจานที่ผสมสารฟอสเฟตในปริมาณเจือจาง เพราะฟอสเฟตไม่มีคุณสมบัติในการชำระล้างสิ่งสกปรกแต่อย่างใด อีกทั้งยังทำลายแหล่งน้ำทำให้เน่าเสียเร็วขึ้น แต่ที่ผู้ผลิตต้องใส่ฟอสเฟตในผงซักฟอกและน้ำยาล้างจาน ก็ด้วยเหตุผลที่สภาพความกระด้างของน้ำในแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน ผู้ผลิตจึงต้องผสมฟอสเฟตลงไปเพื่อช่วยให้สามารถใช้ได้กับทุกสภาวะของน้ำ เนื่องจากฟอสเฟตเป็นสาระสำคัญที่ช่วยลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้น้ำกระด้างลดลง พลังการซักล้างดีขึ้นนั่นเอง
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่เรานำมาฝากแม่บ้านชาวหมอชาวบ้าน ต่อไปถ้าจะตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดใด ควรจะต้องพิจารณาให้ละเอียดอีกสักนิด หันมาดำรงชีวิตกันอย่างระมัดระวัง ชีวิตของคุณจะมีคุณค่าและมีความสุขได้อีกยาวนานทีเดียว

Full Version หลักเบื้องต้นสำหรับการผสมสูตรน้ำยาล้างจาน

specialty world > Article

หลักเบื้องต้นสำหรับการผสมสูตรน้ำยาล้างจาน Date : 2014-05-29 12:30:10

หลักเบื้องต้นสำหรับการผสมสูตรน้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน  เป็นการประยุกต์ใช้ที่สำคัญอย่างหนึ่งของสารลดแรงตึงผิว โดยมัน ทำหน้าที่ ในการ ขจัดสิ่งสกปรก จากพื้นผิว   เช่น ถ้วยชาม เฟอร์นิเจอร์ พื้นบ้าน ห้องน้ำ ฯลฯ การทำความสะอาดถ้วยชาม หรือเครื่องครัวนั้น ต้องการกำจัด คราบอาหารออกไป ส่วนการทำความาสะอาดพื้นผิว อื่นๆ นั้น ก็ต้องการกำจัด สิ่งสกปรก ชนิดตแตกต่างกันไป เช่น คราบฝุ่น บนพื้นบ้าน คราบน้ำมัน บนเตา หรือ คราบสบู่ หรือหินปูนตามพื้นห้องน้ำ ดังนั้น เราต้อง มีน้ำยาทำความสะอาด หลายๆ รูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับคราบสกปรก และพื้นผิว เช่น น้ำยาถูพื้น น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาล้างห้องน้ำ ฯลฯ
น้ำยาล้างจาน นั้น เป็นน้ำยาทำความสะอาดประเภทหนึ่ง ที่ประสิทธิภาพในการทำงานนั้น จะต้องอาศัยความสามารถของ สารลดแรงตึงผิว เป็นส่วนสำคัญ สารเหล่านี้ ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำใหน้ำ้สามารถแทรกซึมเข้าไปใน พิ้นที่ระหว่างจานกับสิ่งสกปรก (คราบอาหาร คราบน้ำมัน) และขจัดคราบพวกนี้ออกมาจากจานได้ การขจัดคราบอาหาร เพียง อย่าง เดียวอาจไม่เพียงพอ ที่จะให้ผลอย่างน่าพอใจ ในการทำความสะอาดจาน เราต้องทำให้ คราบน้ำมันที่ ูที่ถูกชะออกไป ไมสามารถคืนกลับมาติดจาน ได้อีก เมื่อเรายกจานขึ้นจากน้ำ  ในกรณีสารลดแรงตีงผิว จะทำหน้าที่ละลาย น้ำมัน ให้ คงตัวอยู่ในน้ำ และไม่ให้มันกลับมาติดจานอีก นอกจากนี้ ถ้วยชามที่ล้างแล้ว ต้องใสสะอาดไม่มีคราบใดๆ หลงเหลือเมื่อแห้งแล้ว  
ดังนั้นสิ่งที่ต้องการ จากในสูตรน้ำยาล้างจานมีดังนี้
มีฟองดี และคงตัว แทรกซึมชั้นน้ำมันไปยังพื้นผิวจานได้ดี มีความสามารถในการละลายน้ำมัน และกระจายตัวน้ำมันได้ดี เพื่อป้องกันการ ย้อนกลับของคราบมาสู่จาน  ล้างออกง่าย เมื่อแห้งแล้วไม่ทิ้งคราบ มี ค่า พีเฮส เป็นกลาง ละลายน้ำง่าย มีกลิ่นและสีคงตัว สามารถทนต่อสภาวะแตกต่างได้ดี
องค์ประกอบของน้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจานควรประกอบด้วย สารต่อไปนี้ สารลดแรงตีงผิว (surfactants) และอาจจะมี สารเพิ่มประสิืทธิภาพ (cleaning booster) สารปกป้องผิว ตัวทำละลาย สารกันเสีย และอื่นๆ เช่น สารเพิ่มความข้นหนืด น้ำหอม สี
ต่อไปนี้ เป็นสาร ตั้งต้นที่เราใช้กัน
สารลดแรงตึงผิว เช่น  ลีเหนียอัลคิลเบนซีนซันโฟเนท (Linear alkylbenzene sulfonate, LAS), แฟทตี้อัลกอฮอล์ซันเฟท (Fatty alcohol sulfate), แฟทตี้อัลกอฮอล์ อีเธอร์ซันเฟท (Fatty alcohol ether sulfate)
สารเพิ่มประสิทธิภาพ (Cleaning Booster) แฟทตี้ เอซิด อัลคานอลเอไมด์ (fatty acid alkanolamides) , ,แฟทตี้อัลกอฮอล์อีธ็อกซิเลท (Fatty alcohol ethoxylate), อัลคิลโพลี่ไกลโคไซด์ (Alkyl Poly Glycoside, APG)
สารปกป้องผิว (Skin Protecting Agent) ไกลคอล เสตรียเลท (Glycol stearates), บีเทน (Betaine)
สารประกอบโปรตีน เช่น วีทโปรตีน (wheat protein)
ตัวทำละลาย (Solvent) อัลกอฮอล์  (alcohol) โพพิลีน ไกลคอล (Propylene Glycol) ,โซเดียม คิวมีนซันโฟเนท (Sodium Cumene Sulfonate)
สารเพิ่มความข้นหนืด (Thickener) โซเดียม คลอไรด์ (Sodium Chloride) , คาร์โบพอล (Carbopol)
สารกันเสีย (Presevative) ฟอร์มาลดีไฮ (Formaldehyde), Isothaiisolinone, Benzoic acid
สูตรที่เป็นไปได้ สำหรับการทำน้ำยาล้างจาน
      ตัวอย่างสาร                                                                                                                      (%)
สารลดแรงตึงผิว                         LAS, fatty alchol ether sulfate, fatty alcohol sulfate                        10 - 40
สารเสริมการทำความสะอาด           Fatty acid alkanolamides                                                               0 - 2
ตัวทำละลาย                             Octyl sulfate, cumenel sulfonate, ethanol                                       0 - 6
สารรักษาสภาพ                          formaldehyde, Isothaizolinone, Phenoxyethanol                              0.1-0.5
น้ำหอม                                        fragrance                                                                             0.1- 1
สี                                              dye, pigment                                                                        0.1
เกลือ                                          Sodium chloride                                                                     0 - 2.5
น้ำ                                                 water                                                                              to  100

สารลดแรงตึงผิวที่ ใช้ส่วนโดยมาก ก็เป็น อัลคิลเบนซีน ซันโฟเนท, อัลเคน ซันโฟเนท, แฟทตี้ อัลกอฮอล์ ซันเฟท, แฟทตี้ อัลกอฮอล์ อีเธอร์ซันเฟท, แฟทตี้ อัลกอฮอล์ อีธ็อกซิเลท
ในกลุ่มสารลดแรงตึงผิวประจุลบ นั้น อัลคิลเบนซีน ซันโฟเนท (LAS) จะถูกเลือกใช้เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจาก มีคุณบัติที่ดี ในด้าน เวทติ้ง (wetting) การเกิดฟอง (foaming) การขจัดคราบ (detergency) และที่สำคัญมีราคาถูกกว่า สารตัวอื่น 
แฟทตี้อัลกอฮอล์ ซันเฟท และ แฟทตี้อัลกอฮอล์ อีเธอร์ ซันเฟท ส่วนมากจะพบอยู่รวมกับ สารลดแรงตึงผิวประจุลบอื่น โดยเฉพาะ พวกแฟทตี้อัลกอฮอล์ อีเธอร์ซันเฟท มีคุณสมบัติที่เป็นมิตรต่อผิว ทำงานได้ดีในน้ำกระด้าง มีฟองได้ดี และกระจายน้ำมันได้ดีอีกด้วย ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง สายโซ่อัลคิล (alkyl chain) หรือความยาวคาร์บอน (C12-C16) หรือ มีการเปลี่ยนเลขอีธ็อกซิเลชั่น (ethoxylation number) ก็จะทำให้คุณสมบัติ ด้านต่างๆ เปลี่ยนไปด้วย
ในส่วนของประจุบวกร่วม (counter ion) ของสารลดแรงตึงผิวประจุลบ ส่วนมากจะเป็นเกลือ โซเดียม แต่กมีใช้็ตัวอื่นเช่นกัน  เช่น โปแตสเซียม แอมโมเนียม, โมโนเอทานอลเอมีน หรือ ไตรเอทานอลเอมีน
ส่วนสารลดแรงตึงผิวไร้ประจุ เช่นพวก อัลกอฮอล์อีธ็อกซิเลท หรือ พวกโนนีลพีนอล อีธ็อกซิเลท มีมีคุณสมบัติดีเยี่ยม ในการกระจายน้ำมัน (emulsifying) ขจัดคราบน้ำมัน และทำงานได้ดีในสภาพน้ำกระด้าง และ สามารถเลิอกใช้ตัวที่มี หมู่อีธ็อกซิเลชัน (EO number) ให้เหมาะสม เพื่อประสิทธิภาพที่ี่เราต้องการได้ และ ที่ความยาวโซ่คาร์บอน คงที่ ความสามารถในการขจัดน้ำมัน จะเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่ม จำนวนหมู่อีธ็อกซิเลชัน
โดยทั่วไปแล้วประสิืทธิภาการทำความสะอาด ของน้ำยาล้างจานจะขึ้นอยู่กับ การเลือกใช้สารลดแรงตึงผิว การใช้สารลดแรงตึงผิวเพียงชนิดเดียวในการทำสูตรน้ำยาล้างจาน จะไม่ค่อยนิยม การใช้สารลดแรงตึงผิวสองหรือสาม ชนิดผสมกันจะได้ผลด้านประสิทธิภาพดีกว่า ชนิดของสารลดแรงตึงผิวที่นิยมใช้ในการทำน้ำยาล้างจาน คือ ลีเนี่ยอัลคิลเบนซีนซันโฟเนท (LAS), โซเดียมลอรีลอีเธอร์ซัลเฟท (SLES), โคคามิโดโพพีลบีเทน (CAPB) หรือ อัลคิลโพลีไกลโคไซด์ (APG)
โดยสูตรที่นิยมทำ คือสูตรที่ประกอบสองสาร คือใช้ LAS ร่วมกับ SLES โดยใช้ปริมาณ สารลดแรงตึงผิวประมาณ 15-20 % โดยมี LAS เป็นสารออกฤทธิ์หลัก (primary surfactant)  และ SLES เป็นสารออกฤทธิ์เสริม (co surfactant)
ในปัจจุบันมีการเพิ่มสารลดแรงตึงผิว ชนิดที่สามลงไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้าน ต่างๆ โดยเฉพาะ ความอ่อนโยน ต่อผิว และการคงตัวของฟอง สารพวกนี้ ที่ใช้กัน เช่น CAPB หรือ APG
สำหรับสูตรที่ต้องการความอ่อนโยนต่อผิวมากๆ อาจจะไม่ใช้ LAS เนื่องจาก LAS ค่อนข้างแรงต่อผิว โดยจะใช้ เพียง SLES ร่วมกับ CAPB โดย SLES เป็นสารหลัก CAPB เป็นสารเสริม โดยสูตรนี้อาจมีต้นทุนสูตร มากกว่า ระบบ LAS/ SLES แต่ สามารถใช้ระบบนี้ (SLES/ CAPB) ในการทำได้หลายๆ ผลิตภัณฑ์ นอกเหนือจากการทำน้ำยาล้างจาน เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างมือ แชมพูสระผม แชมพูล้างรถ เนื่องจากมีประสิืทธิภาพในการทำความสะอาด และถนอมผิวในสูตร เดียวกัน